สถานการณ์โลกในปัจจุบันนั้นขับเคลื่อนด้วยข้อมูลจำนวนมหาศาล ทุกๆ DATA ที่ถูกบันทึกไว้ล้วนมีมูลค่าทางการค้า เพื่อที่ประชาชนทุกคนจะได้รับความเป็นธรรม กฎหมาย PDPA จึงได้ถูกบังคับใช้ขึ้นมา อย่างไรก็ตามหลายคนยังคงมีคำถามและข้อสงสัยเกี่ยวกับกฎหมายตัวนี้ ในวันนี้เราจะมาเคลียร์คำถามกวนใจอย่างกล้องหน้ารถยนต์ถ้าหากจับภาพคู่กรณีได้แล้วจะผิดกฎหมาย PDPA หรือไม่? มาหาคำตอบและทำความเข้าใจกฎหมายเพื่อประชาชนฉบับนี้ไปด้วยกัน
ทำความรู้จักกฎหมาย PDPA
กฎหมาย PDPA หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นกฎหมายที่เริ่มบังคับใช้งานเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งช่วยคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและรักษาสิทธิ์ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณโดยเฉพาะ ช่วยทำให้คุณท่องโลกอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยมากขึ้น เหมาะกับยุคที่เน้นเรื่อง Data Privacy สุดๆ
ตัวอย่างข้อมูลส่วนบุคคลที่กฎหมาย PDPA หมายถึงนั้นคือ ชื่อ นามสกุล วัน/เดือน/ปีเกิด การศึกษา เลขบัตรประจำตัวประชาชน หมายเลขพาสปอร์ต ฐานะทางการเงิน เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ถ้าหากไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลและข้อมูลเหล่านี้ถูกนำไปเผยแพร่ คุณซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลก็มีสิทธิ์ในการฟ้องร้องได้ เนื่องจากข้อมูลนั้นๆ มีความละเอียดอ่อน สามารถระบุมาถึงตัวของคุณได้นั่นเอง ทั้งหมดนี้รวมถึงประวัติการเข้าเว็บไซต์และการใช้คุ้กกี้ของเว็บไซต์ต่างๆ ด้วย ส่งผลให้แพลตฟอร์มต่างๆ มีการออกอีเมลชี้แจงพร้อมให้เรากดยอมรับเงื่อนไขเหล่านี้ก่อนใช้บริการ
ติดกล้องหน้ารถยนต์ผิดกฎหมายหรือไม่
สำหรับการติดกล้องหน้ารถยนต์นั้นสามารถทำได้โดยไม่ต้องแจ้งให้กรมการขนส่งทราบ คุณสามารถติดกล้องหน้ารถยนต์ได้ตามต้องการ ไม่ผิดกฎหมายข้อใดทั้งสิ้น เพราะกฎหมาย PDPA นั้นไม่ได้ห้ามถ่าย แต่จะเน้นไปที่การห้ามเผยแพร่ข้อมูลก่อนได้รับอนุญาตจากเจ้าของข้อมูล ดังนั้นในกรณีติดกล้องหน้ารถยนต์เพื่อความปลอดภัยและเก็บใช้เป็นหลักฐานยามจำเป็นจึงเป็นข้อยกเว้นไปโดยปริยาย
กล้องหน้ารถยนต์จับภาพคู่กรณีได้จะผิดกฎหมาย PDPA ไหม?
แต่ถ้าหากกล้องหน้ารถยนต์จับภาพคู่กรณีได้แล้วจะผิดกฎหมาย PDPA ไหม? ย้ำอีกครั้งเลยว่าไม่ผิดกฎหมายใด อย่างไรก็ตามแม้คุณจะเป็นผู้เสียหายหรือพลเมืองดีที่มีวิดีโอหลักฐานอยู่ในมือ แต่คุณก็ไม่สามารถเอามาโพสต์ลงบนโซเชียลได้ตามใจเช่นกัน เพราะการโพสต์วิดีโอหรือรูปถ่ายนั้นๆ ลงบนโซเชียลเท่ากับการเผยแพร่ข้อมูลทางหนึ่ง ซึ่งสามารถบ่งชี้ถึงเจตนาที่จะทำให้ผู้อื่นเสียหายหรือได้รับความอับอายได้ แม้คุณจะเป็นฝ่ายที่ถูกต้องแต่ก็ต้องระมัดระวังในการโพสต์วิดีโอและรูปภาพดังกล่าว เพื่อความปลอดภัยการไม่โพสต์ลงบนสื่อออนไลน์จึงเป็นช่องทางการป้องกันที่ดีที่สุดนั่นเอง
อยากนำวิดีโอ/รูปภาพมาเผยแพร่ต้องทำอย่างไรจึงจะไม่ผิดกฎหมาย PDPA
ในกรณีที่ต้องการโพสต์เป็นอุทาหรณ์หรือจำเป็นที่จะต้องเผยแพร่ หากไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลในวิดีโอหรือรูปภาพนั้นๆ ทางที่ดีสุดก็คือการส่งข้อมูลให้กับสื่อหลักอย่างสำนักข่าวต่างๆ ทำการเผยแพร่แทน เพราะตัวสำนักข่าวนั้นถือว่าเป็นสมาคมที่มีจรรยาบรรณและระเบียบควบคุมอย่างเคร่งครัด ดังนั้นจึงได้รับการยกเว้นจากกฎหมาย PDPA นี้ แต่ถ้าหากคุณจำเป็นต้องเผยแพร่ด้วยตัวเองจริงๆ ก็ต้องทำการตรวจสอบไฟล์อย่างละเอียดพร้อมทำการเบลอใบหน้าของผู้ที่อยู่ในไฟล์นั้นๆ รวมถึงปิดข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเลขที่บ้าน ป้ายทะเบียนรถอย่างรอบคอบเสียก่อน
โดยรวมแล้วกฎหมาย PDPA นั้นเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างมากหากนำมาใช้ถูกวิธี เรียกได้ว่าผู้อื่นจะไม่สามารถนำข้อมูลส่วนบุคคลของคุณไปสร้างกำไรให้ตัวเองได้เลยหากไม่ได้รับการอนุญาต เพราะฉะนั้นถ้าหากคุณต้องการติดกล้องหน้ารถยนต์ก็สามารถสบายใจและดำเนินการต่อได้ทันที นอกจากจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่แล้ว ยังทำให้คุณมีหลักฐานเอาไว้ในมือหากเกิดเหตุร้ายที่ไม่คาดฝันอีกด้วย ทั้งนี้คุณก็ต้องอย่าลืมที่จะทำประกันรถยนต์ติดตัวเอาไว้เป็นอีกหนึ่งทางเลือก การคุ้มครองตามกรมธรรม์จะช่วยให้คุณรอดพ้นจากเหตุการณ์ต่างๆ บนท้องถนนได้เช่นกัน สามารถเข้ามาที่ Rabbit care เพื่อทำการเลือกประกันรถยนต์ที่ถูกใจได้ทันที